ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้ กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ต่างก็เร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริม การเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียน และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน แต่การให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทางได้ ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทาง ของการศึกษา แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้เป็นจุดหมาย ปรากฏการณ์ของการหลงทางจะพบเห็นในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบคอมพิวเตอร์ การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวก ผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและมีโอกาสใช้ได้เต็มที่ แต่ในบางสถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่า ขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระสำคัญตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆ และขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการทางปัญญาอย่างแท้จริง
เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
ปกติเทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ความรู้ ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะบางประการ โดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบ การสื่อสาร 2 ทาง (Interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น
แนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
1. การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา
กระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือ กระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ
(1) การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus)
(2) การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด (Concept)
(3) การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ (Rule) ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive)
(4) การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive)
(5) การสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization)
ระบบคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทางปัญญานี้ โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความคิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึก การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
2. การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น สามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme) ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สออาจจัดบุญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์ และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะนำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้
แนวคิดของบิลล์ เกตส์ (Bill Gate) เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา
1. การเรียนไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียน ในโลกยุคปัจจุบัน คนสามารถที่จะเรียนได้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway) ซึ่งกำลังจะมีบทบาท และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาของมนุษย์
2. ผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล บิลล์ เกตส์ ได้อ้างทฤษฎีอาจารย์วิชาการศึกษาที่ว่า เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันจึงจำเป็นจะต้องจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเด็กแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ และการมองโลกแตกต่างกันออกไป
3. การเรียนที่ตอบสนองความต้องการรายคน การศึกษาที่สอนเด็กจำนวนมาก โดยรูปแบบที่จัดเป็นรายชั้นเรียน ในปัจจุบันไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของเด็กเป็นรายคนได้ แต่ด้วยอำนาจ และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การเรียนตามความต้องการของแต่ละคน ซึ่งเป็นความฝันของนักการศึกษามานานแล้วนั้น สามารถจะเป็นจริงได้โดยมีครูคอยให้การดูแลช่วยเหลือ และแนะนำ
4. การเรียนโดยใช้สื่อประสม ในอนาคตห้องเรียนทุกห้องจะมีสื่อประสมจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เด็กสามารถเลือกเรียนเรื่องต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ
5. บทบาทของทางด่วนข้อมูล กับการสอนของครู ด้วยระบบเครือข่ายทางด่วนข้อมูล จะทำให้ได้ครูที่สอนเก่ง จากที่ต่าง ๆ มากมายมาเป็นต้นแบบ และสิ่งที่ครูสอนนั้นแทนที่จะใช้กับเด็กเพียงกลุ่มเดียว ก็สามารถสร้าง Web Site ของตนขึ้นมาเพื่อเผยแผ่ จะช่วยในการปฏิวัติการเรียนการสอนได้มาก
6. บทบาทของครูจะเปลี่ยนไป ครูจะมีหลายบทบาทหน้าที่ เช่น ทำหน้าที่เหมือนกับครูฝึกของนักศึกษาคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ เป็นเพื่อนของผู้เรียน เป็นทางออกที่สร้างสรรค์ให้กับเด็ก และเป็นสะพานการสื่อสารที่เชื่อมโยงระหว่างเด็กกับโลก ซึ่งอันนี้ก็คือบทบาทที่ยิ่งใหญ่ของครู
7. ความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง จะใช้ระบบทางด่วนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ช่วยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง เช่น การส่ง E-mail จากครู ไปถึงผู้ปกครอง
ความคิดของบิลล์ เกตส์นับเป็นการเปิดโลกใหม่ด้านการศึกษาด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ และทางด่วนข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลกเข้ามาเป็นตัวกระตุ้น การปฏิวัติระบบการเรียนการสอนที่มีอยู่เดิม ถึงแม้ว่าเขาจะย้ำว่าห้องเรียนยังคงมีอยู่เหมือนเดิม เพื่อลดการต่อต้านด้านเทคโนโลยี แต่จากรายละเอียดที่เขานำเสนอ จะพบว่าการเรียนการสอนในอนาคตจะต้องเปลี่ยนไปมาก ความหวังของนักศึกษาทุกคนก็คือ การเปิดโอกาสให้เด็กสามารถเรียนได้เป็นรายบุคคลโดยมีการวางแผนร่วมกับครู ถ้าคนในวงการศึกษาไม่ปรับเปลี่ยนจะล้าหลังกว่าวงการอื่น ๆ อย่างแน่นอน
การจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
ปัจจัยพื้นฐาน คือ การสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสรรถนะและจำนวนเพียงพอต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลา จะเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติม คือ
1. ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
ปัจจัยที่จะผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า คือ การที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์ และจากสื่อ Electronic เช่น จาก Web Sites เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการทำโครงงานอิสระสนองความสนใจ เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกปฏิบัติจาก Software สำเร็จรูป เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. ครู และผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็นตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครู และผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับหลักสูตร หรือสนองความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็น Software ชื่อของ Web Sites รวมถึงการลงทุนจัดซื้อ Software จากแหล่งจำหน่าย การจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญจัดทำ หรือจัดทำพัฒนาขึ้นมาเองโดยครู และนักเรียน
3. สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Learning Resources Center) เป็นตัวชี้วัดสำคัญประการหนึ่งของศักยภาพของสถานศึกษาที่จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครู และผู้เรียน ปกติมักนิยมจัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด จนเกิดคำศัพท์ว่าห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) หรือ E – Library จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า ในวิทยาการต่าง ๆ ทั้งในลักษณะสื่อสำเร็จ เช่น Software แถบบันทึกวีดิทัศน์ รวมถึง CD – Rom และ CAI หรือ ชื่อ Web Sites ต่าง ๆ ซึ่งควรจัดทำระบบ Catalog และดัชนี ให้สะดวกต่อการสืบค้น
4. การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ เช่น จัดทำเอกสารรายเดือน รายงาน Software ในท้องตลาด แจ้งชื่อ Web Sites ใหม่ ๆ พร้อมสาระเนื้อหาโดยย่อ จัดทำคลังข้อมูลความรู้ Knowledge Bank เพื่อการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ผ่านสื่อ Electronic หรือสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมเผยแพร่สนองความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนเป็นประจำ นอกจากนี้การรวบรวมผลงานของครู และนักเรียนในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Best Practices จะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับครู และนักเรียนทั่วไปที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
บทสรุป
มีผู้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ IT นั้น การจัด T : Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้ และสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ I : Information หรือสารสนเทศ ที่น่าจะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย และสูญค่าคุณประโยชน์ และความคาดหวังว่า เมื่อมีผู้ไปเยี่ยมเยือนสถานศึกษาใดในอนาคต ก็น่าจะได้พบความสมบูรณ์ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลาย ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี และได้พบผลงานของครู และผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอน
เอกสารอ้างอิง
ครรชิต มาลัยวงศ์. บทบาทของการศึกษาในยุคสังคมข่าวสาร. เทคโนโลยี, 2535 : 48.
รุ่ง แก้วแดง. วิกฤติเนื่องจากการปฏิวัติเทคโนโลยี ตามแนวคิดของบิลล์ เกตส์. กรุงเทพฯ : มติชน,
2543 : 14 – 18.
ยืน ภู่วรวรรณ. การประยุกต์เทคโนโลยีทางด้านการศึกษา. เอกสารสัมมนาทางวิชาการ เรื่องบทบาท
และทิศทางเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2538.
ที่มา : http://neungnuch.multiply.com/journal/item/7/7
2/2558 รายวิชา 4095607 สัมมนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
เทคโนโลยี
เทคโนโลยีคืออะไร
เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี
คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย
มีราคาแพง
มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้นรวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย
อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน
(to weare) :
การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือ
เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือ
ดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ
หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล
พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง
วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอา
วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1.
เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (
process)
เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้
เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ
โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2.
เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product)
หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3.
เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process
and product) เช่น
ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta
1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology)
ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป
หรืองานช่างฝีมือ (art of craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึงหมายถึง
การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า
เทคโนโลยี ไว้ดังนี้ 1) ก. การใช้ทางวิทยาศาสร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม ข. องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน
ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ
เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
บราวน์ (Brown) กล่าวว่า
เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
เดล (Dale
1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง
เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง
และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กัลเบรท (Galbraith
1967) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้คือ
เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ
ส่วนนักการศึกษาของไทยได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีดังนี้
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539)
ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยีหมายถึง
1.
องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
2.
การประยุกต์วิทยาศาสตร์
3.
วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ
4.
กรรมวิธี และวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
5.
ศิลปะ และทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต
การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการ
หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้
และการประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ
ทรัพยากรมนุษย์ และ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ
เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในความหมายนี้
เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528)
กล่าวไว้ว่า
เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล
และจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ
ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น
เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84) คือ
1.
ประสิทธิภาพ (
Efficiency
) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2.
ประสิทธิผล (
Productivity
) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3.
ประหยัด (
Economy
) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
เทคโนโลยีการศึกษา
ในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่
เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนง
ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์
เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น
ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ
มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น
นักการศึกษาและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างๆได้ให้ความหมายของคำเทคโนโลยีการศึกษาไว้ดังนี้
กู๊ด (Good
1973) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ
การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประส่งค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน
มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา
มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์
รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์
สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม
และการศึกษาด้วยตนเอง
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517)
ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค
วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา
ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่างๆ
3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอน
การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่
รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
กาเยและบริกส์ (Gagne and Briggs 1974) ได้ให้ความหมายไว้ว่า
เทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง
1.
ความสนใจในเรื่องความแตกต่างๆระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้
เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
เป็นต้น
2.
ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น
ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์
(B.F Skinner)
3.
เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ
รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
โคลี,
แครดเลอร์, และ
เอ็นเจล (Coley, Cradler, and Engel 1996) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ว่า ในความหมายกว้างๆแล้ว
เทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นคำซึ่งรวมถึงทรัพยากรใดๆก็ตามที่ใช้ในการให้การศึกษาแก่ผู้เรียน
โดยอาจรวมถึงวิธีการ เครื่องมือ หรือกระบวนการ หากเป็นในเชิงปฏิบัติแล้ว
คำนี้จะใช้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ฟิล์มสทริป เครื่องฉาย สไลด์ เทปเสียง โทรทัศน์
และห้องปฏิบัติการทางภาษา เมื่อมีการนำเอาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในช่วงปีพ.ศ.
2523 – 2532 (ทศวรรษ 1980s) จึงเป็นยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้
และในปัจจุบันจะเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารควบคู่กับคอมพิวเตอร์
จึงสรุปได้ว่า
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด
กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ
เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542
สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติได้ให้ความหมายของการศึกษา
และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 หมวด 9
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543
: 3-6)
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่
สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมตามความ จำเป็น
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทาง
วิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น
โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต
จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เพื่อให้มีความรู้
ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ
และประสิทธิภาพ
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหา
ความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต
และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน
เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน
และผลกำไรที่ได้จาการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน
รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษ
ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต
การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 69 จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนส่งเสริม
และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้
รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามนัยของหมวด 9
การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
โดยการถ่ายทอดความรู้สึก การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม
การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม
สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง
ต่อเนื่องตลอดชีวิต
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม
ผสมผสานกับหลักทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา
มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
โดยครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบพฤติกรรม เทคนิควิธีการ การสื่อสาร
การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน และการประเมิน
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมการผลิต
การใช้การพัฒนาสื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ (
คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่น ๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่
เทคโนโลยีทางการสอน
เทคโนโลยีทางการสอน เป็นการนำเอาสื่อประเภทต่าง ๆ เทคนิค วิธีการ วิธีระบบ
เพื่อการออกแบบการสอน และหลักการด้านจิตวิทยา สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ
รวมถึงการสื่อสารของมนุษย์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า นวกรรม
เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation
แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา คำว่า นวกรรม มาจากคำบาลีสันสฤต คือ นว
หมายถึง ใหม่ และกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ
นวัตกรรม (Innovation)
หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ
ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1.
เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2.
ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3.
มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4.
ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ
ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech
ความจริงแล้ว
นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่
ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้
ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง
ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน
หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้
การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย
และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น
สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี
อยู่ควบคู่กันเสมอ
ที่มา : http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm
คอมพิวเตอร์
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า “ คอมพิวเตอร์ ” ไว้ว่า “ คอมพิวเตอร์ น. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ (อ. Computer) ” (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542 : 237)
ซึ่งในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านต่างๆ ในด้านงานการคำนวณ งานกราฟิก การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล การจัดการกับสัญลักษณ์ข้อมูล การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงความบันเทิงทั้งภาพและเสียง
ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ (กิดานันท์ มลิทอง 2548 : 208-210)
นับตั้งแต่ชาวจีนได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยในการคำนวณเมื่อราวหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราช และต่มาได้มีผู้สร้างเครื่องคำนวณที่ใช้รหัสในการบันทึกข้อมูลและใช้บัตรในการบันทึกข้อมูลนั้น นับได้ว่าเป็นเริ่มแรกของการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งาน และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุกของคอมพิวเตอร์ โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค ดังนี้
ยุคแรก พ.ศ. 2494 -2501 : หลอดสุญญากาศ ในปี พ.ศ. 2490 เมาซ์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้ประดิษฐ์คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ขึ้นมาเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator) ซึ่งได้แนวคิดจากการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่เครื่องคำนวณของซอฟฟ์และแบรี (Atanas0ff and Berry) ต่อมาเมาซ์ลีและเอ็กเคอร์ตได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น คือ คอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานทางด้านธุรกิจเรียกว่า เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) และนำออกใช้ในวันที่ 14 กรกฏาคม 2495 ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรก คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็วแต่ขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2502 เมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ
ยุคที่สอง พ.ศ. 2502 -2507 : ทรานซิสเตอร์ ในปี พ.ศ. 2490 จอห์น บาร์ดีน (John Bardeen) ได้พัฒนาทรายซิสเตอร์ซึ่งใช้วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ที่สามารถทำงานแทนหลอดสุญญากาศได้และใช้เนื้อที่น้อยกว่ามาก จึงมีการนำทรายซิสเตอร์มาใช้ในคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น การใช้ทรายซิสเตอร์นอกจากจะมีราคาแพงแล้วยังมักจะประสบปัญหามากมาย จึงมีการใช้อยู่เพียงระยะเวลาสั้นๆ
ยุคที่สาม พ.ศ. 2408 -2512 : วงจรรวม ในปี พ.ศ. 2408 ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (integrated-circuit) หรือเรียกว่า “ ไอซี ” (IC) ไอซีทำให้ส่นประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางได้บนชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำชิปใช้แทนทรานซิสเตอร์ ทำให้ประหยัดเนื้อที่และเพิ่มความเร็วในการทำงานมากขึ้น
ยุคที่สี่ พ.ศ. 2413 -2523 : ไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาอยู่ในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ขึ้นมาใช้งาน ในปี พ.ศ. 2514 ดร.เท็ด ฮอฟฟ์ (TedHoff) จากบริษัทอินเทลได้พัฒนาชิปอินเทล 4004 ขึ้น และเมื่อนำมาประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กราคาถูกลง มีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนี้ว่า “ ไมโครคอมพิวเตอร์ ” (microcomputer)
ยุคที่ห้า พ.ศ. 2524 –ปัจจุบัน เป็นยุคที่มีการพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ให้มี การทำงานเร็วมากขึ้นและมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วจำหน่ายเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525 พัฒนาการของรูปแบบ ขนาด และความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไปเร็วมากในยุคนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ปรับให้เป็นรูปแบบอเนกประสงค์มากขึ้น โดยเพิ่มจากการประมวลและจัดเก็บข้อมูล แต่เพียงอย่างเดียวมาใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงและเป็นอุปกรณ์สื่อสารทั้งแบบใช้สายและแบบ ไร้สาย มีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายเครื่องให้ทำงานร่วมกันและติดต่อกันได้โดยตรงในลักษณะเครือข่ายเฉพาะที่ เครือข่ายนครหลวง และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการใช้ความเป็นเสมือนจริง มีการประดิษฐ์คิดค้นให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์และให้คิดได้อย่างมนุษย์ในรูปแบบของ “ ปัญญาประดิษฐ์ ” (Artificial Intelligence : AI) เพื่อการแก้ปัญหาต่างๆ และนาโนเทคโนโลยี จะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าของคอมพิวเตอร์ในอนาคต
การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา
วงการศึกษาเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกในระยะประมาณปลายทศวรรษที่ 1950s ซึ่งขณะนั้นมหาวิทยาลัยใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกาได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้งานด้านบริหาร ขณะเดียวกันก็มีผู้นำคอมพิวเตอร์มาใช้งานเกี่ยวกับการวิจัยการเรียนการสอน เช่น โครงการเพลโต (PLATO) ที่มหาวิทยาลัยอิลลินนอยส์ สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2503 โดยมีวัตถุประสงค์ในการออกแบบการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา สถาบันการศึกษาในระดับโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัยได้มีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายเมื่อมี การประดิษฐ์ไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้ เนื่องจากเป็นเครื่องขนาดเล็กและราคาไม่สูงเกินไปนักที่สถาบันการศึกษาต่างๆ จะซื้อไว้ใช้ คอมพิวเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่ทรงอนุภาพยิ่งที่สามารถนำมาใช้ในการศึกษาเล่าเรียนได้มากมายหลายทาง บทบาทของคอมพิวเตอร์ตามแบบจำลอง “ tutor , tool , tutee model ” (Taylor , 1980 อ้างถึงใน Newby , and Other, 2000 : 43) ได้แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ โดยใช้ในบทบาทของ “ ผู้สอน ” (teacher) “ ผู้ช่วย ” (assistant) และ “ ผู้เรียน ” (learner) ในบทบาทของ “ ผู้สอน ” จะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาบทเรียนแก่ผู้เรียน ในบทบาทของ “ ผู้ช่วย ” เป็นการใช้คอมพิวตอร์เป็นเครื่องมือ (tool) ช่วยการทำงานของผู้สอนและผู้เรียน เช่น การพิมพ์รายงาน การจัดทำฐานข้อมูล ฯลฯ และในบทบาทของ “ ผู้เรียน ” เป็นการที่ผู้สอนหรือผู้เรียน “ สอน ” คอมพิวเตอร์ในการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ปัจจุบันการพัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้การแบ่งบทบาทเหล่านี้เห็นได้ไม่ชัดเจนนักแต่จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในทุกบทบาทเหล่านี้ได้
การใช้คอมพิวเตอร์ในทฤษฏีการเรียนรู้ จากทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มพุทธนิยม และกลุ่มสร้างสรรค์นิยม ทั้งในเชิงความรู้ความเข้าใจและเชิงสังคมที่มีความเกี่ยวโยงกับเทคโนโลยีการศึกษา ทำให้เห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถตอบสนองการเรียนรู้ตามหลักทฤษฏีเหล่านั้นได้อย่างดียิ่ง แนวทางการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนปัจจุบันค่อนข้างจะมีแนวโน้มเปลี่ยนจากสภาพแวดล้อมเชิงสังคม (socially-oriented environments) และจากเครื่องมือระบบปิดเปลี่ยนมาเป็นเครื่องมืออเนกประสงค์ที่ใช้งานได้หลายประเภท (Chee and Wong, eds., 2003 : 86) เช่น แต่เดิมมักมีการใช้บทเรียน CAI ประเภททบทวน การฝึกหัด การจำลอง ฯลฯ ในการเรียนรายบุคคลเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ปัจจุบันจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการสื่อสารหรือเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เรียนอื่นๆ ทั้งในสถาบันเดียวกันหรือสถาบันอื่นทั้งในประเทศและทั่วโลก นอกจากนี้ การใช้บทเรียน CAI เหล่านั้นจะปิดกั้นอยู่ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนโดยผู้เรียนจะเรียนอยู่เพียงภายในขอบข่ายเนื้อหาที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่ในทางตรงกันข้าม หากใช้ซอฟต์แวร์ที่เอื้อต่อสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ร่วมกันได้ การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงเปิดกว้างมากขึ้นทั้งในรูปแบบการใช้งานและผนวกกับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อสามารถตอบสนองกับการเรียนรู้ตามหลักทฤษฏีการเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังสรุปได้ดังนี้ (กิดานันท์ มลิทอง 2548 : 217-219)
ทฤษฏีการเรียนรู้ การใช้งานคอมพิวเตอร์
กลุ่มพฤติกรรมนิยม : ซอฟต์แวร์การฝึกหัด การเรียนด้วยบทเรียน CAI
สิ่งเร้าและการตอบสนอง
กลุ่มพุทธินิยม : การประมวล
ซอฟต์แวร์การสอน/ทบทวน ฐานข้อมูลเนื้อหา
และส่งผ่านสารสนเทศ บทเรียน เช่น
สารานุกรม ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
กลุ่มสร้างสรรค์นิยมเชิง ซอฟต์แวร์เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานรายบุคคล
เช่น
ความรู้ความเข้าใจ : การค้นหา ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์การนำเสนอ และ
ความรู้ด้วยตนเอง ซอฟต์แวร์สื่อหลายมิติ
กลุ่มสร้างสรรค์นิยมเชิงสังคม : ซอฟต์แวร์เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานเป็นกลุ่ม เช่น
การเรียนรู้ร่วมกัน ซอฟต์แวร์ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ซอฟต์แวร์กราฟิก
ซอฟต์แวร์การแก้ปัญหา การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
เช่น
อีเมล เว็บบอร์ด การสนทนาสด
องค์ประกอบในการออกแบบการสอนทางคอมพิวเตอร์
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนนั้นมีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาและคำนึงถึงเพื่อใช้ในการออกแบบการสอนทางคอมพิวเตอร์ ดังนี้ (นิคม ทาแดง 2537 : 178)
เครื่องคอมพิวเตอร์ (Hard ware) ไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็ก (Microcomputer) ขนาดกลาง (Minicomputer) และขนาดใหญ่ (Main fame computer) ก็จะมี
ส่วนประกอบดังนี้
1) CPU (Central Processing Unit) เปรียบเสมือน " สมอง " ของคอมพิวเตอร์ ที่ควบคุมทั้งหมดและการคำนวณทั้งหมด
2) Memory เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่จัดดำเนินการโดย CPU ส่วนนี้บรรจุโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมและบอกให้ CPU ทำงานอะไรบ้างและเป็นลำดับอย่างไร คำสั่งนั้นจะแยกได้เป็น Memory 2 ประเภท คือ ROM (Read Only Memory) และ RAM (Random Access Memory)
3) Storage เป็นวิธีเก็บโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้อยู่ ซึ่งแหล่งเก็บจะมี 2 แบบ คือ เทปคาสเซท (Cassette tape) และดิสก์ (Disk)
4) Input มีความหมายถึง การใส่ข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ เครื่องมือใส่ข้อมูลโดยทั่วไป เช่น Keyboard, joysticks, paddles หรือแผ่นตารางกราฟิก (Graphic tablets)
5) Output หมายถึง การแสดงผลโปรแกรมออกมา โดยทั่วไปของ ไมโครคอมพิวเตอร์ก็คือ บนจอทีวี (Television monitor) นอกจากนั้นอาจต่อเข้าเครื่องพิมพ์ (Printer) เพื่อให้แสดงผลเป็นตัวพิมพ์บนกระดาษได้ (วารินทร์ รัศมีพรหม 2531 : 196-197)
โปรแกรมใช้เครื่อง (Soft ware) ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จเพื่อใช้ในการ ออกแบบและสร้างโปรแกรมการสอน ซึ่งมีผู้ผลิตออกมาจำหน่ายหรือให้บริการมากมาย ต้องเลือกให้เหมาะสมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้และโปรแกรมการสอนที่จะออกแบบด้วย (นิคม ทาแดง 2537 : 178)
โปรแกรมการสอน (Course ware) ได้แก่โปรแกรมการสอนที่จะออกแบบว่าจะออกแบบโปรแกรมการสอนแบบใด ปัจจุบันโปรแกรมการสอนที่มีคุณภาพดียังหาได้ยาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกมาใช้ให้ถูกต้องตรงกับจุดมุ่งหมาย และคุณลักษณะของผู้เรียน ในการเลือกโปรแกรมการสอนจึงอาจต้องค้นหาจากแหล่งต่างๆ และในการค้นหารายชื่ออาจค้นจาก Index ในข้อมูล
คอมพิวเตอร์ จากวารสารที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นควรได้อ่านสรุปวิเคราะห์ เรื่องราวของโปรแกรมการสอนทั้งจากวารสารหรือแหล่งต่างๆ ที่ได้ทำการวิเคราะห์ ถ้ามีโอกาสได้โปรแกรม การสอนนั้นมาก็ควรได้มีการทดลองใช้ดูก่อน ก่อนที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนจริงและควรได้มี การประเมินคุณค่าตามแบบฟอร์มที่จัดทำไว้ด้วย ซึ่งการประเมินค่าโดยทั่วไปอาจคล้ายกับการประเมินคุณค่าของบทเรียนโปรแกรมเพราะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่อาจเพิ่มเกณฑ์ในเรื่องกราฟิก สีสัน การใช้ภาษาเข้าไปด้วย (วารินทร์ รัศมีพรหม 2531 : 196)
ในเรื่องของการออกแบบทางจอภาพนั้น ไฮนิค, โมเลนดา และรัสเซล (Heinich, Molenda and Russel, 1982) ได้ศึกษาถึงการเคลื่อนที่ของตาในการมองภาพ พบว่า คนเราจะมองสาระของภาพที่อยู่ในตำแหน่งซ้ายบนเป็นตำแหน่งแรก ถัดมาเป็นซ้ายล่าง ขวาบน และขวาล่าง ตามลำดับ และให้ข้อเสนอแนะว่าควรจัดสิ่งสำคัญหรือเนื้อหาที่ต้องการเน้นไว้ในตำแหน่งที่พบว่าคนจะมองเป็นอันดับแรก คือ ตำแหน่งซ้ายบน และจัดให้องค์ประกอบของภาพให้มีความสมดุลย์ และเป็นไปตามธรรมชาติของเนื้อหา ไบร์เลย์ (Bailey, 1982 : 348) เสนอแนะว่า จอคอมพิวเตอร์ควรมีเนื้อหาที่นำเสนอ 3 ใน 4 ของจอภาพ นอกจากนี้เรื่องของสีตัวอักษรก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อผู้ใช้โปรแกรมด้วย จากผลการวิจัยสีและขนาดของตัวอักษรบนสีพื้นที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านบนจอคอมพิวเตอร์ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเห็นต่อสีที่ชอบและการอ่าน ตัวอักษรได้ง่ายที่มีค่าสูงสุด คือ ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีดำในตัวอักษรขนาดเล็ก และตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีม่วงในตัวอักษรขนนาดใหญ่ มีค่ารองลงมา คือ ตัวอักษรสีเหลืองบนพื้นสีน้ำเงินในตัวอักษรขนาดเล็ก และตัวอักษรสีเขียวบนพื้นสีดำในตัวอักษรขนาดใหญ่ (ปวีณา ธิติวรนันทร์ 2538 : 51) ส่วนไบร์เลย์ (Bailey, 1982 : 335) ได้กล่าวถึงการใช้สีบนจอคอมพิวเตอร์ไว้ว่า สีของตัวอักษรและพื้นหลังควรสอดคล้องและเข้ากันได้ ไม่ควรกำหนดสีมากกว่า 2-3 สี ในการแสดงบนจอภาพในครั้งเดียว แต่ควรกำหนดสีเพียงสีเดียวในการแสดงตัวอักษรบนจอ เช่น ขาว เทา และดำ ซึ่งอาจรวมถึงสีเหลือง ส้ม และเขียวด้วย ส่วนสีน้ำเงินและสีแดงบั่นทอนสายตาในขณะที่อ่าน จึงควรใช้ในกรณีการเน้นคำ หรือทำให้ตัวอักษรเด่นชัดเหมาะสมกว่า ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นมีความสอดคล้องกับทินเกอร์ (Tinker, 1969) ที่กล่าวว่าคู่สี (ตัวอักษรและพื้นหลัง) ที่มีความแตกต่างกันสูง จะทำให้เกิดการรับรู้ได้ง่าย
ลักษณะการใช้โปรแกรมการสอน มี 2 ลักษณะ คือ การใช้เป็นโปรแกรม การสอนแบบอิสระ (Stand alone) ซึ่งบันทึกโปรแกรมการสอนลงในแผ่นดิสก์เพื่อนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ชุดเดี่ยวๆ และใช้โปรแกรมการสอนแบบเครือข่าย (Network System) ซึ่งเชื่อมคอมพิวเตอร์แม่ข่ายกับคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของผู้เรียนทั้งชั้นหรือผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล ซึ่งการออกแบบคอมพิวเตอร์ทั้งสองแบบนี้อาจมมีส่วนที่แตกต่างกันบ้าง จึงต้องพิจารณาตัดสินใจเลือกลักษณะการใช้ไว้ตั้งแต่ต้น (นิคม ทาแดง 2537 : 178)
สรุปได้ว่า องค์ประกอบในการออกแบบการสอนทางคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาและคำนึงถึงเพื่อใช้ในการออกแบบการสอนทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hard ware) โปรแกรมใช้เครื่อง (Soft ware) โปรแกรมการสอน (Course ware) และลักษณะการใช้โปรแกรมการสอน ซึ่งจะช่วยให้เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อดีและข้อจำกัดของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการการศึกษา
การใช้งานคอมพิวเตอร์ด้านการเรียนการสอนมีทั้งข้อดีและข้อจำกัดในการใช้เพื่อการเรียนรู้เช่นเดียวกับสื่อประเภทอื่นๆ ดังนี้
ข้อดี
1) คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจและกระตุ้นการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนด้วยบทเรียนหลากหลายรูปแบบและการใช้งานสื่อหลายมิติ
2) การใช้สี ภาพเคลื่อนไหว เสียงนานาประเภท จะเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและเร้าใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัด หรือกิจกรรมต่างๆ
3) ความสามารถในการบันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่างๆ ของผู้เรียนจะช่วยในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้
4) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่อง ทำให้สามารถนำมาใช้ได้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคนและแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
5) ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้า สามารถเรียนไปตามความสามารถของตนโดยสะดวกอย่างไม่รีบเร่ง โดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบคำถามผิด
6) เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่าย และสะดวกในการนำออกมาใช้
7) ใช้ในการสื่อสารได้ทุกรูปแบบของข้อความ ภาพ และเสียง
ข้อจำกัด
1) ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะลดลงมากแล้วก็ตาม แต่การพิจารณานำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาบางสถานที่นั้น ยังต้องคำนึงถึงความคุ้มกับค่าใช้จ่ายตลอดจนการดูแลรักษาด้วย
2) การออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนนั้นนับว่า ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่นๆ ทำให้โปรแกรมบทเรียนเพื่อการเรียนการสอนมีจำนวนและขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้ในวิชาต่างๆ
3) ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของไอบีเอ็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของแมกคินทอช
4) การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
5) เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้าจึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงอาจไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้มากเท่าที่ควร
6) ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
ตัวอย่างโปรแกรมคำนวณทางคณิตศาสตร์
1. FreeMat
(โปรแกรม FreeMat คำนวณคณิตศาสตร์ เหมือน MatLab)
4.2
ดาวน์โหลดโปรแกรม
FreeMat โปรแกรมด้านคณิตศาสตร์ที่ เหล่าบรรดานักคณิตศาสตร์ทั้งหลายไม่ควรพลาด
เหมือน โปรแกรม MatLab ที่โด่งดังแต่ แต่ FreeMat แจกฟรีจ้า
2. Protech Numsys (โปรแกรมคํานวณเลขฐาน
พร้อมวิธีทำอย่างละเอียด) 1.4
ดาวน์โหลดโปรแกรม Protech Numsys คำนวณแปลงเลขฐาน ตั้งแต่เลขฐาน 2
ถึง เลขฐาน 16 และยัง แปลงเลขฐาน 10 ไปเป็น เลขฐานอื่น หรือแปลงจากเลขฐานอื่น มาเป็นเลขฐาน 10 ฟรี
3. Math Kit EBook (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สรุปแก่นคณิตศาสตร์
ม.ปลาย) 3.2.1
หนังสือคณิตศาสตร์ ม.ปลาย Math Kit E-Book ให้ดาวน์โหลด ไปฝึกวิชาเลข
คณิตศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กันฟรีๆ พร้อมแบบฝึกหัดเลข เฉลย สูตรคำนวณ
ในรูปแบบ ไฟล์ PDF
4. Protech Measurements (แปลงหน่วย มาตรวัด ชั่ง ตวง เวลา น้ำหนัก ระยะทาง) 1.2
ดาวน์โหลดโปรแกรม Protech Measurements โปรแกรมแปลงค่าหน่วย
มาตราวัด ชั่ง ตวง วันเวลา แปลงระยะทาง ฯลฯ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างละเอียด
มีทั้งหน่วยสากลและไทย ฟรี
5. Microsoft Mathematics (โปรแกรมคณิตศาสตร์ คำนวณเลขฟรี)
โหลด Microsoft
Mathematics ชื่อเดิม Microsoft Math ใช้คำนวณเลข
วาดกราฟ และอีกหลายๆ ด้าน พีชคณิต ตรีโกณมิติ ฟิสิกส์ เคมี และ แคลคูลัส
เพื่อการศึกษา เหมาะกับ นักเรียน นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไป ฟรี
6. GeoGebra (โปรแกรม
GeoGebra สร้างสื่อการสอน เชิงคณิตศาสตร์)
ดาวน์โหลดโปรแกรม GeoGebra สำหรับสร้างสื่อการที่ใช้ในการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์
สามารถนำตัวอย่างแบบ 3D มาประกอบช่วยเพิ่มความรู้เชิงคณิตศาสตร์ได้
7. Protech Geometry (โปรแกรมคำนวณ
สูตรเลขาคณิตศาสตร์) 1.5
ดาวน์โหลดโปรแกรม Protech Geometry คำนวณสูตรเรขาคณิต ทั้ง 2
มิติ 3 มิติ ใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น
การสร้างสิ่งต่างๆ อย่างแม่นยำผ่านการคำนวณรูปทรง
ช่วยทำการบ้านคณิตศาสตร์อย่างรวดเร็ว
8. SMath Studio (โปรแกรม
เครื่องคำนาณทางคณิตศาสตร์)
ดาวน์โหลดโปรแกรม SMath Studio โปรแกรมคำนวณคณิตศาสตร์ เหมือน MathCad
สามารถใส่สูตรต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
รวมถึงมีเครื่องหมายที่เอาไว้คำนวณทางวิทยาศาตร์
9. Protech Calculator
1.0
ดาวน์โหลดโปรแกรม Protech Calculator เป็น เครื่องคิดเลข โดยคนไทย
ใช้ง่าย พกพาสะดวก ไม่ต้องติดตั้งพัฒนาจาก EUPAL SDK 2.0 สามารถดัดแปลงตัวโปรแกรมได้ด้วยตัวเอง
แจกฟรี
10. Im2graph (โปรแกรม
Im2graph สร้างกราฟ คำนวณค่าตัวเลข)
ดาวน์โหลดโปรแกรม Im2graph สำหรับการสร้างกราฟ วาดกราฟ
ในรูปแบบต่างๆ พร้อมใส่ค่าแสดงผลของตัวเลขในการคำนวณได้อย่างละเอียดและรวดเร็ว
โปรแกรมเครื่องคิดเลขฟังก์ชันคณิตศาสตร์ (Calculator Pro)
|
โปรแกรม Calculator Pro เป็นโปรแกรมเครื่องคิดเลขที่มีฟังก์ชันต่างๆทางคณิตศาสตร์ เช่น
ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Function) ฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิก
(Hyperbolic Function) เป็นต้น
สามารถใส่วงเล็บและใส่สูตรการคำนวณต่างๆให้เห็นบนจอ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)